วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กลอนเล็กๆ มาฝากวาเลนไทม์



        ใกล้วาเลนไทม์ใจยังเหงา
คู่ของเราอยู่ไหนมองไม่เห็น
อยากมีรักกับเขาแสนลำเค็ญ
หรือเป็นเวรแต่ชาติที่แล้วมา
             

แบบเรียนเล่มแรกของไทย

                                              
               หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นหนังสือตำราเรียนหนังสือไทย เนื้อหาของหนังสือว่าด้วย ระเบียบของภาษา สอนอักขรวิธีเบื้องต้น พร้อมอธิบายวิธีแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์
จินดามณีถูกใช้เป็นตำราเรียนจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัย ร .5 จินดามณีมีหลายฉบับ เช่น ฉบับโหราธิบดี ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ฉบับหมอบรัดเล เป็นต้น
จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล เป็นหนังสือแบบเรียนที่ ดร . แดน บีช บรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการพ ิมพ์ของไทย จัดพิมพ์เมื่อปี 2422 โดยคัดสรรมาจากตำราเรียนเก่าหลายเรื่องและสอดแทรกเนื้อหาสำคัญท ี่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยมาไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น ประถม ก กา ว่าด้วยการใช้และสะกดตัวอักษร จินดามุนี ว่าด้วยการประพันธ์โคลง เช่น โคลงสุภาพ ประถมมาลา เป็นตำราสั่งสอนวิชาหนังสือภาษาไทยให้ถูกต้องตามแบบจินดามณี ปทานุกรม เป็นส่วนราชาศัพท์ ได้เพิ่ม ศัพท์กัมพูชา ศัพท์ชวา เป็นต้น

ที่มา : http://www.oknation.net/

ซีไรต์

รางวัลซีไรต์ (อังกฤษ: S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษ: Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542

ที่มา : http://th.wikipedia.org/

แนวทางการวิเคราะห์วรรณกรรม

แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (๒๕๔๕ : ๑๒๘) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ใน

การวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้

๒.๑ ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ
๒.๒ ลักษณะคำประพันธ์
๒.๓ เรื่องย่อ
๒.๔ เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ สำนวนในเรื่องท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดสร้างสรรค์ ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น
๒.๕ แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก
๒.๖ คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น ๕ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น ซึ่งผู้วิเคราะห์ต้องไปแยกหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะ ของหนังสือที่จะวิเคราะห์นั้น ๆ ตามความเหมาะสม

ที่มา : http://www.siam1.net/

มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ

เนื้อเรื่องย่อ

จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที
ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน
ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป


ที่มา : th.wikipedia.org

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

สุภาษิตไทยหมวด ศ-อ

หมวด ศ
ศอกกลับ    หมายถึง    ย้อนว่าสวนคำ กระทำการแก้แค้น
ศิษย์มีครู    หมายถึง    ศิษย์เก่งที่มีครูเก่ง
ศึกในอก     หมายถึง   ความรู้สึกนึกคิดที่สุดจะหักห้ามได้ การเอาชนะใจตนเอง
ศึกหน้านาง    หมายถึง    การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง
เศรษฐียังขาดไฟ    หมายถึง    คนเรามีวันผิดพลาด
ศาลา นารี คงคา    หมายถึง    สิ่งที่ถือว่าเป็นของกลาง
ศรศิลป์ไม่กินกัน   หมายถึง     ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ถูกชะตากัน ทำอะไรกันไม่ได้

หมวด ส
สวยแต่รูปจูบไม่หอม    หมายถึง    รูปร่างหน้าตาดีแต่ขาดคุณสมบัติสตรี
สอดรู้สอดเห็น    หมายถึง    แส่รู้ในเรื่องของคนอื่น
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ   หมายถึง     สอนในสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
สาวไส้ให้กากิน   หมายถึง     เอาความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้
สิบเบี้ยใกล้มือ    หมายถึง    ของหรือประโยชน์ที่อยู่ใกล้ก็เอาไว้ก่อน
สิบแปดมงกุฎ    หมายถึง    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมาก
สีซอให้ควายฟัง    หมายถึง    สอนคนโง่ไม่มีประโยชน์
สุ่มสี่สุ่มห้า    หมายถึง    ไม่ดูหน้าดูหลัง
เสือซ่อนเล็บ    หมายถึง    คนคมในฝัก เก่งแต่เก็บไว้ไม่โอ้อวด
เสือกระดาษ   หมายถึง     อำนาจที่มีเป็นลายลักษณะอักษรเท่านั้น

หมวด ห
หาเหาใส่หัว    หมายถึง    หาความเดือนร้อนใส่ตัวโดยใช่เหตุ
หญ้าปากคอก     หมายถึง   คุ้นเสียจนมองข้ามไป
หนวดเต่า เขากระต่าย   หมายถึง     สิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
หนอนหนังสือ     หมายถึง   คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ
หน้าซื่อใจคด     หมายถึง   มีหน้าตาซื่อตรง แต่ในในคิดร้าย
หน้าเนื้อใจเสือ     หมายถึง   หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใจแต่ในใจดุร้าย
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว     หมายถึง   หลงผิดคิดว่าความชั่วเป็นความดี
หมองูตายเพราะงู   หมายถึง     ทำหน้าที่อะไรมักได้รับภัยจากหน้าที่นั้น
เห็นช้างขี้ ชี้ตามช้าง   หมายถึง     ทำอย่างผู้อื่นจนเกินกำลังตน
เห็นช้างเท่าหมู   หมายถึง     โกรธจัดจนขาดสติ

หมวด อ
อ้อยเข้าปากช้าง    หมายถึง    สิ่งตกอยู่ในมือใครแล้วยากจะได้คืน
อกไหม้ไส้ขม     หมายถึง   ความทุกข์อย่างแสนสาหัส
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน    หมายถึง    ค่อยทำค่อยไปแล้วจะได้ผลดี
อกสั่นขวัญแขวน   หมายถึง     ตกใจขนาดหนัก
อดอยากปากแห้ง   หมายถึง     ไม่มีอาหารจะกิน
เอาหูไปนาเอาตาไปไร่    หมายถึง    ทำไม่รู้ไม่เห็น
อย่าเทน้ำพริกไปกินแกง     หมายถึง   อย่าคาดคะเนล่วงหน้า โดยยังไม่เห็นผล
เอามะพร้าวห้ามไปขายสวน    หมายถึง    บอกสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้วให้เขา
เอากุ้งฝอยไปตกปลากระพง    หมายถึง    ลงทุนน้อย หวังกำไรมาก
คำค้น : สุภาษิต
 
 
สำนวนสุภาษิตไทย

สุภาษิตไทยหมวด ฟ-ล

หมวด ฟ
ฟังความข้างเดียว    หมายถึง    รับรู้เรื่องจากฝ่ายเดียวแล้วด่วนตัดสิน
ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง    หมายถึง    โทษทัณฑ์หรือเคราะห์กรรมที่เกิดจากอำนาจเบื้องบน
ไฟจุกตูด    หมายถึง    มีธุระร้อนมาก
ไฟสมขอน     หมายถึง   อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ
ไฟไหม้ฟาง    หมายถึง    อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างวู่วามสักพักหนึ่งแล้วก็หายไป
ฟื้นฝอยหาตะเข็บ     หมายถึง   คุ้ยเขี่ยเอาเรื่องที่สงบแล้วให้กลับมาเป็นเรื่องอีก
ฟังหูไว้หู    หมายถึง    เชื่อบ้าง ระแวงบ้าง อย่าเชื่อสนิทเชื่อเพียงครึ่งเดียว
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ     หมายถึง   กาลเทศะ ที่สูงที่ต่ำ ของสูงของต่ำ
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด    หมายถึง    รู้เรื่องไม่ละเอียดถี่ถ้วน ก็ถือเป็นจริงเป็นจริง
ฟาดเคราะห์    หมายถึง    ตัดสินใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์

หมวด ม
มดแดงแฝงพวงมะม่วง    หมายถึง    ไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก    หมายถึง    คนกลับกลอกเอาแน่นอนอะไรไม่ได้
มะนาวไม่มีน้ำ   หมายถึง    พูดไม่น่าฟัง
มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี    หมายถึง    คนจนมักตื่นเต้นเมื่อร่ำรวย
มือใครยาวสาวได้สาวเอา   หมายถึง     ใครดีใครได้
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ    หมายถึง    ไม่ช่วยแล้วยังกีดขวาง
ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย   หมายถึง     ไม่มีเค้ามาก่อน
แมวไม่อยู่หนูร่าเริง   หมายถึง     ผู้ใหญ่ไม่อยู่ผู้น้อยเหลิง
ม้าดีดกระโหลก    หมายถึง    กริยาที่หญิงเดินไม่สุภาพ
มือถือสากปากถือศีล    หมายถึง    ไปวัดฟังธรรมถือศีล แต่กระทำตนไม่ดีหรือพูดดีแต่ใจไม่ดี

หมวด ย
ยาจกเห็นใจเศรษฐี    หมายถึง    จะทำอะไรก็ให้ถูกต้องตามเหตุผล
ย้อมแมวขาย    หมายถึง    ปรุงแต่งของเลวแล้วหลอกว่าเป็นของดีขาย
ยื่นหมูยื่นแมว    หมายถึง    แลกเปลี่ยนสิ่งของกันโดยไม่ให้เสียเปรียบ
โยนกลอง    หมายถึง    โยนความผิดให้ผู้อื่น
ยกเมฆ     หมายถึง   พูดเดาสุ่ม
ยกยอปอปั้น   หมายถึง     ยกย่องหรือสรรเสริญ หรือสนับสนุนให้เด่นขึ้น
ยกภูเขาออกจากอก     หมายถึง   หายหนักใจ
ยามรักน้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน    หมายถึง    เมื่อรักก็เห็นดีทุกอย่าง
ยกครูต่อหน้า ยอข้าเมื่อลับหลัง     หมายถึง   ยกย่องครูต่อหน้ายกย่องชมเชยผู้น้อยลับหลัง

หมวด ร
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี    หมายถึง    ให้รู้จักเอาตัวรอด
รู้เช่นเห็นชาติ    หมายถึง    รู้กำพืด รู้นิสัยใจคอ
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา     หมายถึง   ให้ประพฤติตนดี จะได้ดี
รักสนุกทุกข์ถนัด    หมายถึง    สนุกมาก ก็มักจะทุกข์มาก
ร่มไม้ชายคา    หมายถึง    ที่อยู่อาศัย
รวบหัวรวบหาง    หมายถึง    ฉวยโอกาสเอาหรือทำให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
ร่วมหัวจมท้าย   หมายถึง     ตกลงเป้นสามีภรรยากัน
รอดปากเหยี่ยวปากกา   หมายถึง     แคล้วคลาดและหลุดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ
รีดเลือดกับปู    หมายถึง    เคี่ยวเข็ญเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้ เช่น รีดเงินจากคนจน

หมวด ล
เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ    หมายถึง    พี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
ล้วงคองูเห่า   หมายถึง     กล้าทำชั่วโดยไม่เกรงกลัวผู้ใด
ลืมตัวเหมือนวัวลืมตัว   หมายถึง     ลืมพื้นเพเดิมของตนเอง
ลูกไก่ในกำมือ    หมายถึง    ผู้ที่ไม่มีทางต่อสู้
ลูกขุนพลอยพยัก    หมายถึง    ผู้น้อยคอยตามผู้ใหญ่
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น     หมายถึง   บุคคลย่อมเป็นตามเผ่าพันธุ์
ล้มลุกคลุกคลาน   หมายถึง     ดิ้นรนกระเสือกกระสน
ล้มหมอนนอนเสื่อ    หมายถึง    ป่วยเจ็บถึงขนาดต้องนอนรักษาตัว
ลาโง่    หมายถึง    คนโง่
ล้มทั้งยืน     หมายถึง   ฉิบหายหรือหมดตัวโดยกะทันหัส


ที่มา:  http://www.trueplookpanya.com/